ต้อนรับวาเลนไทน์ ด้วยเรื่องราว “ความรัก” หลากหลายแง่มุมจาก Sanook.com

“วันวาเลนไทน์” เทศกาลแห่งความรักประจำปีที่คู่รักจะมอบของขวัญให้แก่กัน พร้อมเฉลิมฉลองความรักที่แสนงดงาม ทว่า ความรักที่มีอยู่ในโลกใบนี้มีมากมายและหลากหลายรูปแบบ เนื่องในวันวาเลนไทน์ 2023 นี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวความรักในแง่มุมอื่น ๆ เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรัก และทำความเข้าใจความเป็นมนุษย์ที่หลากหลายในสังคมแห่งนี้ 

14 ปีแห่งความรักของ “พอร์ชอาม” 

ย้อนกลับไปเมื่อ 14 ปีที่แล้ว “พอร์ช – อภิวัฒน์ อภิวัฒน์เสรี” และ “อาม – สัพพัญญู ปนาทกุล” ตัดสินใจบอกกับทุกคนว่าพวกเขา “รักกัน” นำมาซึ่งเสียงตอบรับที่อาจจะไม่ค่อยดีนักของสังคมต่อความรักของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) แต่ ณ โมงยามที่ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยยังมีไม่มากเท่ากับปัจจุบัน เช่นเดียวการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงความรักของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ทว่า “พอร์ชอาม” ก็จับมือกันฝ่าฝันอุปสรรคที่พุ่งเข้าหาพวกเขาอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จนในที่สุด ทั้งคู่ก็ตกลงที่จะใช้ชีวิตในฐานะ “คู่ชีวิต” แม้กฎหมายของไทยจะยังไม่รองรับการแต่งงานของพวกเขาก็ตาม 

อ่านต่อ

เรื่องเล่าของหญิงผู้สูญเสียคนรักให้กับ “มะเร็งต่อมหมวกไต” โรคหายากในไทย

นุ่นและปอ คือคู่รักที่คบกันมานานกว่า 8 ปี ทั้งคู่มีธุรกิจร่วมกัน ใช้ชีวิตอยู่เคียงข้างกัน และวางแผนอนาคตร่วมกัน ต่อมาปอตรวจพบว่าตัวเองเป็น “มะเร็งต่อมหมวกไต” โรคที่พบแค่ 1 ใน 2 ล้าน และวันที่ตรวจพบ เชื้อมะเร็งก็ได้กระจายไปที่ตับและปอดช่วงล่างแล้ว 

“ตั้งแต่ที่รู้ว่าเป็นโรค เราไม่ได้ออกจากโรงพยาบาลเลย คือต้องเล่ารายละเอียดของโรคว่า มะเร็งต่อมหมวกไตไม่เหมือนกับมะเร็งชนิดอื่น ที่ให้คีโมเสร็จ ก็สามารถกลับไปพักรักษาตัวต่อที่บ้านได้ เนื่องจากต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนเยอะมาก ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ส่งผลกระทบทำให้จากที่ไม่เป็นโรคอะไรเลย ก็เป็นโรคความดัน โรคเบาหวาน แล้วก็มีเรื่องเกลือแร่ อย่างพวกโพแทสเซียม แมกนีเซียม ที่สำคัญมาก เราไม่เคยรู้เลยว่าสำคัญขนาดนี้ เพราะว่าโพแทสเซียมต่ำ จะทำให้หัวใจวายได้ หรือแมกนีเซียมต่ำ ก็จะส่งผลต่อความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อร่างกาย แล้วเขาก็ค่อย ๆ ทรุดลงจริง ๆ” 

อ่านต่อ

ASEXUAL: เมื่อ “เซ็กส์” ไม่ใช่สิ่งสำคัญของชีวิตรัก

ว่ากันว่าชีวิตรักจะราบรื่นได้ นอกจากไลฟ์สไตล์ที่ตรงกันแล้ว เรื่อง “เซ็กส์” ที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ความรักของคนสองคนแข็งแรงและมั่นคงยิ่งกว่าเดิม แต่ในโลกยุคใหม่ที่ผู้คนให้ความสำคัญกับความหลากหลายของมนุษย์มากขึ้น ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Asexual ที่ไม่ได้รู้สึกถึงแรงดึงดูดทางเพศ จนกระทั่งไม่สนใจและไม่ต้องการที่จะมีความสัมพันธ์ทางกายกับคนอื่น ซึ่งออกจะแปลกประหลาดสำหรับสังคมไทยที่มองว่ารักกับเซ็กส์เป็นของคู่กัน และทำให้ Asexual ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นพวกถือพรหมจรรย์ ปฏิเสธการมีเซ็กส์ แล้วก็พลอยปฏิเสธการมีคู่ไปโดยปริยาย อีกทั้งคนกลุ่มนี้ยังถูกตั้งคำถามจากคนรักและคนรอบข้างด้วย

“การเชื่อมโยงกันและกันในระดับตัวตน ไม่ว่าเราจะโตไปแค่ไหน ถ้าเรายังสามารถยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เขาเป็นได้ และสามารถสนับสนุนเขาได้ เราว่าอันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือต้องไม่ทำร้ายกัน และไม่พยายามดึงอีกฝ่ายมา ในช่วงเวลาที่อีกฝ่ายพร้อมจากไปแล้ว เราต้องมีการคุยกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์มัน วิน-วิน ทั้งสองฝ่าย ถ้ามีฝ่ายไหนเริ่มไม่โอเค เราว่ามันก็เริ่มไม่ใช่แล้ว” 

อ่านต่อ

“Sexual Consent” เรื่องบนเตียงที่ต้องคุยกัน 

วันวาเลนไทน์หรือเทศกาลแห่งความรักกลับมาอีกครั้ง สร้างความกังวลให้กับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมากมายต่อเรื่องเพศของเด็ก อย่างไรก็ตาม การร่วมเพศที่ยินยอมคือความรัก แต่หากไม่ยินยอม นั่นคือ “การข่มขืน” ดังนั้น ประเด็นเรื่อง Sexual Consent หรือความยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์ จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจ และจะสะท้อนให้เห็นว่าความเข้าใจเรื่อง Sexual Consent ของสังคมที่ยังไม่มากพออาจส่งผลต่อสังคมในระยะยาว

Sexual Consent คือ การยินยอมและความต้องการที่จะมีเพศสัมพันธ์แบบมั่นใจ โดยปราศจากความกดดัน โดย คุณศรัทธารา หัตถีรัตน์ นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ อธิบายว่า Sexual Consent ต้องสามารถสื่อสารได้ ความต้องการของทั้งคู่ต้องอยู่ในจุดเดียวกัน และเมื่อใดก็ตามที่ไปถึงจุดที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดไม่มั่นใจ อีกฝ่ายต้องหยุดทันที หากไม่หยุด กรณีนั้นก็จะเป็นการข่มขืน

อ่านต่อ

“A World of Married Couple” ภาพผัวเดียวเมียเดียวเป็นพิษในชีวิตจริง

วัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy Culture) ถูกสถาปนาให้เป็นอุดมการณ์หลักในสังคมส่วนใหญ่ทั่วโลก และถูกเชิดชูให้เป็นสิ่งดีงามในสังคม ขณะเดียวกันก็มีอำนาจอื่นที่เข้ามาสนับสนุนให้วัฒนธรรมไปอยู่ในพื้นที่ทางการทั้งหมด เช่น การตราเป็นกฎหมาย หรือข้อปฏิบัติของสามีที่ต้องรักเดียวใจเดียว และให้เกียรติภรรยา ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสุภาพบุรุษ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น วัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียวยังมาพร้อมกับความคิดเรื่อง “รักโรแมนติก” การเป็นคู่แท้หรือการกำหนดให้ความรักเป็นเรื่องของคนสองคนที่จะรักกันชั่วฟ้าดินสลาย และไม่นอกใจซึ่งกันและกัน

“วัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียวมันเกิดอาการพ่นพิษ เพราะในชีวิตจริงวัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียวมันเป็นไปไม่ได้ สังคมจึงหลงใหล ชื่นชอบ หรือเสพเนื้อหาเรื่องการเป็นมือที่สาม หรือเรื่องเมียน้อยประหนึ่งเป็นความบันเทิง”

อ่านต่อ

เปิดใจทนาย “เมียหลวง” ไม่ต้องตบ รอรับคำขอโทษเป็น “เงินสด” ก็พอ

ในสังคมไทย ประเด็นเรื่อง “เมียหลวง vs เมียน้อย” ถือเป็นวิวาทะสุดคลาสสิกที่ไม่ว่าใครก็ต้องสนใจและออกความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะฝ่ายเมียหลวง ที่มักจะเป็นผู้ถูกกระทำหมิ่นหยามศักดิ์ศรี จนต้องมี #ทีมเมียหลวง เป็นกองเชียร์ ตั้งแต่ให้กำลังใจแบบธรรมดา ไปจนถึงทางลัดอย่างการ “ตบสั่งสอน” ให้สาแก่ใจ อย่างไรก็ตาม นี่คือศตวรรษที่ 21 ที่มนุษย์ได้พัฒนาการใช้เหตุผลมาอย่างยาวนาน เพราะฉะนั้น “การใช้กำลัง” จึงอาจไม่ใช่หนทางเดียวในการแก้ปัญหา และปัจจุบันนี้ วิธีการเรียกคืนศักดิ์ศรียอดนิยมของเหล่าเมียหลวงก็คือ “การฟ้องร้องชู้” 

“เวลาที่เราฟ้อง เราต้องรู้ว่าเขาชื่อนามสกุลอะไร เพราะจะต้องไปคัดทะเบียนราษฎร์ แล้วเวลาฟ้อง เราต้องส่งคำฟ้องไปหาเขา ให้เขาทราบว่าเราฟ้อง แล้วการได้มาซึ่งชื่อจริงนั้น ถ้าหลักฐานชัดเจนว่าสามีดิ้นไม่หลุดแล้ว เราก็อาจจะต้องถามสามีตรง ๆ เลย ว่าเมียน้อยชื่ออะไร แต่บางทีก็มีเมียน้อยที่เขาแรงจริง เขาก็อาจจะส่งข้อความมาหาเรา เราก็ถามชื่อสกุลของเขาได้เลย หรือถ้ามีการโอนเงินให้กัน ชื่อบัญชี พร้อมพ์เพย์ เบอร์โทรศัพท์ ก็เช็กได้ คือเมียหลวงก็ต้องกลายเป็นนักสืบนิดนึง” 

อ่านต่อ